บทที่ 2

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ประวัติกระด้ง
         กระด้ง หรือ ด้ง ที่นิยมใช้กันอยู่ในภาคใต้มี ๒ อย่าง คือ กระด้งฝัดข้าว และกระด้งมอน กระด้งทั้งสองชนิดนี้สานด้วยไม้ไผ่และหวายสำหรับใช้งานเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำไร่ทำนา กระด้งปักษ์ใต้ทั้งสองชนิดเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากกระด้งภาคอื่นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านรูปแบบและลวดลาย กระด้งฝัดข้าวของภาคใต้มี ๒ ชนิดคือ "กระด้งลายขอ" และ กระด้งบองหยอง" กระด้งลายขอ เป็นกระด้งฝัดข้าวที่มีรูปแบบและลายสานที่ถือว่าเป็นเครื่องจักสานชั้นเยี่ยม ที่ออกแบบรูปร่างและลวดลายประณีตประสานกับการใช้สอยได้เป็นอย่างดี และมีคุณค่าทางความงามด้วย กระด้งลายขอนิยมสานด้วยตอกไม้ไผ่สีสุก เพราะเป็นไม้ไผ่ที่มีเนื้อแข็งและเหนียว
กระด้งลายขอมีลักษณะพิเศษอยู่ที่ตอกซึ่งจะปล่อยข้อปล้องไม้ไผ่ด้านที่เป็นผิวไว้ โดยไม่ได้ตัดออก ตอกด้านนี้จึงมีลักษณะเป็นขออยู่ตามปล้อง ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกว่า "กระด้งลายขอ" ตอกที่จะเว้นข้อไว้เป็นขอนี้เส้นหนึ่งจะมีข้อเหลือไว้เพียงข้อเดียว เวลาสานผู้สานจะต้องสานวางจังหวะของตอกพิเศษที่มีข้อเหลือไว้แต่ละเส้นให้อยู่กึ่งกลางของกระด้งและเรียงสลับฟันปลาการเหลือข้อไว้บนตอกเพื่อให้เกิดเป็นลายขอบนกึ่งกลางกระด้งนี้ มิได้ทำขึ้นเพื่อความสวยงามแต่อย่างเดียวหากแต่ต้องการให้เกิดประโยชน์ในการฝัดข้าวได้ดีด้วย กระด้งลายขอนี้จะใช้ฝัดข้าวเปลือกที่ผ่านการซ้อมด้วยมือ หรือสีด้วยเครื่องสีข้าวพื้นบ้านมาแล้ว แต่ยังมีเปลือกข้าวที่เรียกว่า ขี้ลีบและกาก ปะปนอยู่ จะต้องนำมาฝัดด้วยกระด้งลายขอ ลายขอที่เกิดจากการเว้นข้อไว้บนผิวไม้ไผ่ตามธรรมชาตินี้จะช่วยให้กากข้าวขี้ลีบและสิ่งที่ไม่ต้องการสะดุดกับขอของตอกที่พื้นกระด้งลอยตัวขึ้นบนผิวกระด้ง และจะรวมกันอยู่ตามร่องระหว่างขอตรงกลางกระด้ง จึงฝัดหรือเก็บออกได้ง่าย
นอกเหนือไปจากรูปแบบและโครงสร้างของกระด้งลายขอที่มีลักษณะเฉพาะที่สนองความต้องการ ในการใช้สอยแต่โบราณ ตั้งแต่หลักการสานที่คิดเป็นสูตรด้วยคำที่คล้องจองไว้ว่า "ยกสองข่มห้า เรียกว่า ลายบ้าเอย"ที่เรียกว่า "ลายบ้า" คงเป็นเพราะว่าการสานกระด้งชนิดนี้สานยากนั่นเอง ผู้สานจะต้องเป็นช่างฝีมือดี เมื่อสานเสร็จแล้วแนวทางของเส้นตอกจะต้องเป็นแนวมีระเบียบ และลายของปล้องข้อจะเรียงกันได้จังหวะงดงามอยู่ตามด้านหน้ากระด้งส่วนด้านหลังจะเป็นแนวร่องตอกซึ่งเรียกว่า "ดี"กระด้งลายขอนี้ส่วนมากจะมีขนาดไม่ใหญ่นักและนิยมเรียกแนวดีแทนขนาด เช่น กระด้งขนาด๗ ดี หรือ ๙ ดี เป็นต้น กระด้งที่นิยมใช้กันเป็นกระด้งที่มีลายขอถี่หรือละเอียดมากกว่ากระด้งที่มีลายขอห่างๆ กัน
กระด้งฝัดข้าวอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะของภาคใต้ คือ "กระด้งลายบองหยอง" กระด้งชนิดนี้สานง่ายกว่ากระด้งลายขอ การสานกระด้งลายบองหยองใช้ตอกไม้ไผ่เช่นเดียวกับกระด้งลายขอ แต่ใช้ตอกเส้นใหญ่กว่าและไม่มีข้อปล้อง เป็นตอกเรียบๆ ธรรมดาผิวหน้ากระด้งจึงเป็นลายเรียบๆ กระด้งชนิดนี้ใช้ฝัดข้าวและเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆเช่นเดียวกัน นอกจากกระด้งทั้งสองชนิดดังกล่าวแล้วยังมีกระด้งอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "กระด้งมอน" คำว่า "มอน" เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึงกระด้งกลมขนาดใหญ่มีเนื้อที่มากกว่ากระด้งทั่วๆ ไป ลักษณะของกระด้งชนิดต่างๆ ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่ากระด้งของภาคใต้เป็นเครื่องจักสานที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นโดดเด่นชนิดหนึ่ง
นอกจากนี้กระด้งของภาคใต้เกี่ยวเนื่องกับคติความเชื่อของชาวใต้ที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่โบราณด้วย เช่นห้ามนำกระด้งขึ้นไปบนยุ้งข้าว เพราะจะทำให้ขวัญข้าวหรือแม่โพสพหรือเทพธิดาแห่งข้าวไม่พอใจแล้วหนีไปไม่คุ้มครองเป็นมิ่งขวัญ ทำให้การทำนาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ความเชื่อนี้แม้จะหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมแม่โพสพจึงไม่กระด้งแต่ก็เป็นความเชื่อที่เชื่อถือสืบต่อกันมาแต่โบราณความเชื่อที่เกี่ยวกับกระด้งอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องเก็บรักษากระด้งไว้ให้ดี ถือว่ากระด้งเป็นของสำคัญต้องเก็บไว้ในที่สูง เช่น ตามชายคา หรือเหนือเตาไฟในครัวเพื่อให้ควันไฟช่วยรักษาเนื้อไม้ไม่ให้มอดหรือแมลงกัดกิน และช่วยให้เส้นตอกแน่น มีสีดำอมแดงดูสวยงามอยู่เสมอ
การที่ชาวบ้านเก็บรักษากระด้งไว้ในที่สูงไม่ให้เด็ก นำไปเล่นนั้น อาจจะมาจากความเชื่อที่ว่า แม่โพสพเป็นผู้มีพระคุณให้ข้าวเลี้ยงชีวิตมนุษย์ จึงควรเก็บรักษากระด้งฝัดข้าวไว้ให้ดี การเก็บรักษากระด้งนี้นอกจากจะใช้ควันไฟจากการหุงหาอาหารช่วยเคลือบผิวแล้ว บางครั้งจะทำด้วยน้ำมันยางทาขี้ชันผสมรำข้าว ซึ่งจะช่วยให้ใช้ได้นาน ถ้าพิจารณาจากความเชื่อนี้แล้ว จะเห็นว่าเป็นอุบายของคนโบราณที่จะรักษากระด้งไว้ให้คงทน ใช้งานได้นาน เพราะกระด้งสานยากจะต้องใช้ความละเอียดประณีตมาก
การสานกระด้งลายขอและกระด้งชนิดอื่นๆ ของภาคใต้ยังมีสานกันอยู่บริเวณพื้นที่ราบที่มีการทำไร่ ทำนา และยังมีช่างสานกระด้งลายขอฝีมือดีอยู่บ้างแต่ไม่มากนักเพราะการสานกระด้งลายขอต้องใช้ความพยายามและต้องมีความละเอียดประณีตใช้เวลามาก อย่างไรก็ตาม กระด้งลายขอ กระด้งลายบองหยอง และกระด้งมอน ของภาคใต้ เป็นเครื่องจักสานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นชัดเจนอย่างหนึ่งของภาคใต้ นอกเหนือไปจากสภาพทางภูมิศาสตร์สภาพการดำรงชีวิต ความเชื่อ ขนบประเพณีและศาสนา ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างเครื่องจักสานแล้ว วัตถุดิบท้องถิ่นยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เครื่องจักสานมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ต่างไปจากภาคอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้เครื่องจักสานชนิดต่างๆ ของภาคใต้ จะเห็นได้ว่าบางชนิดเป็นเครื่องจักสานที่มีประโยชน์ ในการใช้สอย เช่นเดียวกับเครื่องจักสานภาคอื่น แต่มีรูปแบบ ลวดลาย และใช้วัตถุดิบที่แตกต่างไปจากเครื่องจักสานภาคอื่นๆ มีลักษณะเฉพาะถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
             การจักสานตะกร้าจากไม่ไผ่เป็นงานหัตถกรรมประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้  เกิดจากภูมิ
ปัญญาของช่างฝีมือในการเลือกใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นได้อย่างสอดคล้อง  และกลมกลืนกับวิถีชีวิต 
จนนาไปสู่การจาหน่ายอย่างกว้างขวาง
      ภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้ของช่างฝี มือ มีดังนี้คือ
            1.  ด้านปัจจัยแวดล้อม
          เลือกใช้ไม้ไผ่มาจักสานตะกร้า  แสดงถึงภูมิปัญญาในการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นซึ่งมีอยู่ทั่วๆไปไม่ยุ่งยากในการจัดหา
2.  ด้านตัวงานหัตถกรรม
              ช่างฝี มือ  รวมกลุ่มกันทางาน  ถ่ายทอดวิธีการจักสานจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง  กรรมวิธีสร้าง
ชิ้นงานยังคงเป็นลักษณะเดิมที่สืบทอดกันมา
              -  ด้านวัฒนธรรม  การจักสานตะกร้า  เป็นการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ เพื่อใช้ใน
ชีวิตประจำวันรูปแบบและวัสดุจะมาจากวิธีการดำรงชีวิตและการนำไปใช้สอย  เมื่อว่างจาก
การทำไร่ทำนา  ก็จะมาจับกลุ่มทำงานกันด้วยความสามัคคี  จนรวมตัวเป็นกลุ่มช่างฝี มือ  ผลิต
งานออกจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอีกทีหนึ่ง
            -  ด้านการใช้สอย  ไม้ไผ่มีความคงทน การที่ช่างฝี มือเลือกใช้ไม้ไผ่
รูปทรงตะกร้าดูแปลกตาจากวัสดุที่เคยเป็นมา  และยังมีความคงทนในการใช้สอยเหมือนกัน                      
อีกด้วย
              -  ด้านความงาม  การนำไม้ไผ่มาใช้ประดิษฐ์ชิ้นงานจึงมีการจัดวางทิศทางของไม้ไผ่ให้สอดคล้องกลมกลืนกับลวดลายและรูปทรงของภาชนะที่ต้องการประดิษฐ์ทำให้เกิดความงดงามอีกแบบหนึ่ง  จนทำให้ผลิตภัณฑ์และเป็นรู้จักแพร่หลาย
ลวดลายพื้นฐาน
ถือเป็นลายแม่บท สำหรับจักสานทั่วไป ช่างจักสานทุกคนที่จะทำงานจักสานจะต้องเรียนรู้ลวดลาย
แม่บท ซึ่งมีทั้งสิ้น 6 ลวดลาย โดยสามารถสานได้อย่างแม่นยำเสียก่อนจึงจะข้ามไปใช้ลวดลายอื่นๆ ลวดลายแม่บท ซึ่งเป็นลวดลายที่มีกฎเกณฑ์ตามตัว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีดังนี้
1. ลายขัด คือ ลายที่ยก 1 ข่ม 1 สลับกันเรื่อยไป
2. ลายสอง คือ จะมีขึ้นตอนการสานดังนี้
การสานเส้น 1 เริ่มจากตอก 8 เส้น เป็นเส้นตั้งข้ามไป 1 เส้น สานยกไป 2 เส้นข้าม 2 เส้น ยก 2 เส้น ข้าม 1 เส้น
การสานเส้นที่ 2 ข้าม 2 เส้น ยก 2 เส้น
การสานเส้นที่ 3 ยก 1 เส้น ข้าม 2 เส้น ยก 2 เส้น ข้าม 2 เส้น ยก 1 เส้น
การสานเส้นที่ 4 ยก 2 เส้น ข้าม 2 เส้น ยก 2 เส้น ข้าม 2 เส้น
3. ลายสาม เป็นลายที่ดัดแปลงเพิ่มจากลายสอง การสานใช้ตอก 8 เส้น เป็นเส้นตั้ง
เส้น 1 ข้าม 3 ยก 3 ข้าม 2
เส้น 2 ยก 1 ข้าม ยก 3 ข้าม 1
เส้น 3 ยก 2 ข้าม 3 ยก 3
เส้น 4 ยก 3 ข้าม 3 ยก 2
เส้น 5 ข้าม 1 ยก 3 ข้าม 3 ยก 1
เส้น 6 ยก 2 ข้าม 3 ยก 3
4. ลายตาหลิว อาจจะเรียกต่างกันไปตามพื้นถิ่น เช่น ลายตาชลอม ลายชะหมู ลายตาหลิว เป็นลายดัดแปลงมาจากพื้นฐานโดยเพิ่มตอกขัดทแยงเป็นลายดอกขิง ลายดอกจัน ลายดอกพิกุล ลายตาชลอม
5. ลายขอ เป็นลายสำหรับสานกระด้ง โดยใช้ไผ่สีสุกสานเพราะเป็นไผ่ที่เหนียวไม่เปราะ
6. ตะบองหยอง เป็นลายกระด้งที่ใช้กันทางภาคใต้ ใช้เก็บพริก กาแฟ ข้าวเปลือก

ลวดลายในการสานเครื่องจักสาน

แบบอย่างของลวดลายของเครื่องจักสานในแต่ละถิ่นมีหลักเฉพาะท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป และมีชื่อเรียกลายต่าง ๆ แตกต่างกันแม้จะเป็นลายชนิดเดียวกันก็ตาม ลักษณะของการสร้างลวดลายแบ่งได้เป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้

ลายขัด เป็นลายพื้นฐานของเครื่องจักสานซึ่งอาจจะเป็นลวดลายเบื้องต้นของการทำเครื่องจักสานที่เก่าแก่ที่สุดก็ได้ ลักษณะของลายขัด เป็นการสร้างแรงยึดระหว่างกันด้วยการขัดกันของตอก หรือวัสดุอื่นด้วยการขัดกันระหว่างแนวตั้งหรือเส้นตั้ง และแนวนอนหรือเส้นนอน ถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นว่า ลายขัดเป็นแม่แบบของลายสานทั้งปวง ซึ่งมีอยู่ในงานจักสานของชนชาติต่าง ๆ ทั่วไป เป็นลายที่วิวัฒนาการขึ้นมาเป็นลายต่าง ๆ ตั้งแต่ลายขัดธรรมดาไปจนถึงการสานแบบยกดอกเป็นลวดลายต่าง ๆ ลักษณะโครงสร้างของลายขัดนี้เป็นลายที่มีแรงยึดมาก จึงมีความแน่น และแข็งแรงให้ความคงทนมาก จึงนิยมใช้สานประกอบกับลายอื่น ๆ ในส่วนที่ต้องการความแข็งแรง เช่นส่วนที่เป็นก้น เป็นปาก คอ ของภาชนะ เป็นต้น


ลายทแยง ลักษณะการสานคล้ายการถัก ส่วนมากใช้ตอกเส้นแบน ๆ บาง ๆเพราะการสานลายชนิดนี้ต้องการแผ่นทึบ โครงสร้างของลายทแยงจะเบียดตัวกันสนิทไม่มีเส้นตั้งหรือเส้นนอนเหมือนลายขัด เป็นลายสานที่ต้องการผิวเรียบบางสามารถสานต่อเชื่อมกันไปตามความโค้งของภาชนะที่ต้องการได้ เครื่องจักสานที่สานด้วยลายทแยงนี้ส่วนมากจะสามารถทรงรูปอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ความแข็งแรงจะไม่ทนเท่าลายขัด

            ลายขด ลายสานแบบขดส่วนมากจะใช้สานภาชนะโดยสร้างรูปทรงขึ้นด้วยการขดของวัสดุซ้อนเป็นชั้น ๆ แล้วใช้ตัวกลางเชื่อมถักเข้าด้วยการเย็บ ถัก หรือมัด ลายสานแบบขด มักใช้วัสดุจำพวกหวาย ปอ และวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่สามารถคงรูปอยู่ได้ด้วยความแข็งของตนเอง ลายสานแบบขดจะรับน้ำหนักและแรงต้นได้ดีเพราะโครงสร้างทุกส่วนจะรับน้ำหนักเฉลี่ยโดยทั่วถึงกัน

            ลายอิสระ เป็นลายที่สานขึ้นตามความต้องการของผู้สาน เป็นลายที่เกิดจากการสร้างสรรค์ที่อิสระตามความต้องการใช้สอย เป็นการสร้างลวดลายให้เกิดเป็นเครื่องจักสานที่ต่างไปจากลวดลายแบบอื่น ๆ จะพบเห็นทั่วไปในภาคต่าง ๆ ของประเทศ นับว่าเป็นลายที่น่าสนใจลายหนึ่งในกระบวนการกระทำเครื่องจักสาน
เครื่องมือทำเครื่องจักสานของไทย
การทำเครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านโบราณอย่างหนึ่งที่ทำสืบทอดกันมาช้านานแล้วเครื่องมือที่ใช้ทำเครื่องจักสานก็เป็นเครื่องมือพื้นบ้านเพียงไม่กี่ชิ้นที่ชาวบ้านมักทำขึ้นใช้เอง เครื่องมือสำคัญที่ใช้ทำเครื่องจักสานของไทย ได้แก่
มีด 
           เครื่องมือสำหรับแปรรูปวัตถุดิบจากธรรมชาติ มาเป็นวัสดุสำหรับทำเครื่องจักสานมีดที่ใช้กันทั่วไปเป็นมีดเหล็กกล้า เนื้อแกร่ง มี  ชนิด คือ
           มีดสำหรับผ่าและตัด  มักเป็นมีดขนาดใหญ่ สันหนา เช่น มีดโต้ หรือมีดอีโต้ใช้ตัดและผ่าไม้ไผ่ หวาย หรือไม้อื่นๆ ที่จะใช้ทำเครื่องจักสานให้มีขนาดตามต้องการ ก่อนที่จะนำไป เหลา จัก เป็นตอกหรือเป็นเส้นต่อไป
           มีดตอก มีดชนิดนี้มีประโยชน์ใช้สอยตามชื่อคือ ใช้สำหรับจักตอกหรือเหลาหวายเป็นมีดปลายเรียวแหลม ปลายและด้ามงอน ส่วนมากตัวมีดจะสั้นกว่าด้าม เพราะในการจักหรือเหลาตอก จะใช้ด้ามสอดเข้าไประหว่างแขนกับลำตัวเพื่อให้จักหรือเหลาตอกได้สะดวก มีดชนิดนี้จะมีสันบางเพื่อให้จักได้ดี ส่วนปลายที่งอนแหลมนั้นจะใช้เจาะหรือคว้านได้ด้วย มีดตอกทั่วไปจะมีรูปร่างคล้ายคลึงกันดังกล่าวแล้ว แต่อาจะมีรูปร่างพิเศษแตกต่างกันบ้างตามความนิยมของแต่ละถิ่นและช่างจักสานแต่ละคน 
เหล็กหมาด
           เหล็กปลายแหลม ใช้สำหรับเจาะ ไช งัด แงะ มี ๒ ชนิดคือ
           เหล็กหมาดปลายแหลม เป็นเหล็กปลายกลมแหลมมีด้ามทำด้วยไม้ ใช้สำหรับไชหรือแกะ มักทำด้วยเหล็กก้านร่มหรือซี่ลวดรถจักรยาน ฝนปลายให้แหลม ใช้ไชหรือแงะเครื่องจักสานเพื่อร้อยหวายผูกโครงสร้าง ผูกขอบหรือเจาะหูกระบุง ตะกร้า เป็นต้น
           เหล็กหมาดปลายหอก เป็นเหล็กแหลมปลายแบนอย่างปลายหอก ใช้เจาะหรือไชไม้ให้เป็นรู มักใช้เจาะรูเครื่องจักสานเมื่อต้องการผูกหวายเสริมโครงสร้างให้แข็งแรง  


คีมไม้
           คีมไม้  เป็นเครื่องมือจำเป็นในการทำเครื่องจักสาน รูปร่างคล้ายคีมทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่และทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้มะค่า แก่นไม้มะขาม คีมจะใช้หนีบปากภาชนะจักสานเพื่อเข้าขอบ เช่น ใช้หนีบขอบกระบุงตะกร้า กระจาด ขณะเข้าขอบปากเพื่อผูกหวายที่ขอบให้แน่น คีมจะช่วยให้ช่างจักสานเข้าขอบภาชนะจักสานได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้ผู้ช่วย
           นอกจากเครื่องมือสำคัญในการทำเครื่องจักสานดังกล่าวแล้ว การทำเครื่องจักสานยังอาจจะมีเครื่องมืออย่างอื่นอีก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำเครื่องจักสาน เช่น การเหลาหวายที่จักเป็นเส้นแล้วให้เรียบเสมอกัน ช่างจักสานจะใช้ฝากระป๋องหรือสังกะสี มาเจาะรูให้มีขนาดต่างกันจากรูใหญ่ไปเล็ก แล้วสอดเส้นหวายเข้าไปในรูแล้วชักผ่านออกไป ความคมของสังกะสีจะครูดให้ผิวเส้นหวายเรียบและมีขนาดเสมอกัน เรียกว่า "ชักเลียด" การชักเลียดนั้นจะต้องชักจากรูใหญ่ไปหารูเล็ก การทำเครื่องจักสานย่านลิเภาก็ใช้เครื่องมือชนิดเดียวกันนี้ แต่เรียกว่า "ชักแป้น"นอกจากเครื่องมือเหล่านี้แล้ว ช่างจักสานบางท้องถิ่นอาจจะมีเครื่องมือพิเศษเฉพาะตัวแตกต่างกันไปอีกก็ได้ ในปัจจุบันมีผู้ประดิษฐ์เครื่องจักและเหลาตอกด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขึ้นใช้ ช่วยให้จักและเหลาตอกได้รวดเร็วขึ้น แต่กระนั้นก็ตาม ตอกที่จักและเหลาด้วยมือจะเรียบและประณีตกว่า เมื่อได้ตอกแล้วจึงนำตอกไป "สาน" เป็นเครื่องจักสานให้มีรูปทรงและลวดลายตามความต้องการการจักหรือการทำไม้ไผ่เป็นตอก แล้วสานเป็นภาชนะเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นขั้นตอนสำคัญคนไทยจึงเรียกหัตถกรรมที่ทำขึ้นด้วยวิธีการนี้ว่า "เครื่องจักสาน"
           การทำเครื่องจักสานของไทยก็ทำขึ้นตามกระบวนการดังกล่าว เริ่มจากการ "จัก" คือการเอามีดผ่าไม้ไผ่ หวาย หรือวัตถุดิบอื่นๆ ให้แตกแยกออกจากกันเป็นเส้นบางๆ แล้ว "สาน" เป็นเครื่องจักสานประเภทต่างๆ ให้มีรูปทรงสอดคล้องกับการใช้สอย และขนบนิยมของท้องถิ่น การใช้เส้นตอกหรือวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นอื่นๆ มาขัดกัน เริ่มจากการสานอย่าง่ายๆ ด้วย "ยก" ขึ้นเส้นหนึ่ง แล้ว "ข่ม" ลงเส้นหนึ่งสลับกันไป เรียกว่าลายขัด หรือลายหนึ่ง จนถึงการสอดและขัดแปลกออกไปเป็นลายที่ยากขึ้น เช่น ลายสอง ลายสาม จนถึงลายที่มีลักษณะพิเศษออกไปอย่างลายเฉลว หรือ ลายตาเข่ง ลายดอกพิกุล และลายอื่นๆ ที่ช่วยให้เครื่องจักสานมีความสวยงามควบคู่กับประโยชน์ใช้สอย
ไผ่ตง
อยู่ในสกุล Dendrocalamus Nees ชื่อสกุลนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า "dendro" แปลว่า ต้นไม้ และ "kalamos" แปลว่าพืชจำพวกหวาย รวมหมายถึง "หวายที่เป็นกอคล้ายต้นไม้" จึงสื่อถึงลักษณะของไผ่สกุลนี้ที่มีขนาดใหญ่และนิยมปลูกเพื่อการบริโภคหน่อ พบประมาณ 50 ชนิดแต่พบในไทย 4 ชนิด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเขตอินเดีย จีน อินโดนีเซีย พม่า ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ไผ่ซาง
ตามหัวเมือง หรือตามชนบท นิยมนำเอาไผ่ชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์ และกินหน่อเป็นอาหารมาช้านานแต่โบราณแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ในทางก่อสร้าง ทำเครื่องจักสาน ทำเยื่อกระดาษ จัดเป็นไผ่ธรรมชาติที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ มากที่สุดในประเทศไทยชนิดหนึ่ง ที่สำคัญ หน่ออ่อนของ ไผ่ซางยังกินเป็นอาหารได้อีกด้วย ชาวบ้านนิยมนำไปแปรรูปทำเป็นหน่อไม้ปี๊บ ทำหน่อไม้ดองออกจำหน่าย ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลายมาจนกระทั่งปัจจุบัน เนื่องจากมีรสชาติดีและให้ปริมาณเยอะ
ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii) เป็นไผ่ชนิดหนึ่งในสกุล Cephalostachyum พบในแถบประเทศอินเดียจนถึงภูมิภาคอินโดจีน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น เป็นไผ่ประเภทเหง้า มีกอขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 7-12 ม. ลำตรงอัดกันเป็นกอแน่นหรือหลวม ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางลำยาวประมาณ 3.58 ซม. ปล้องยาว 40-70 ซม. เนื้อลำบาง 3-5 มม. ลำอ่อนมีขนปกคลุมประปรายและมีนวลสีขาวปกคลุมบาง ๆ เห็นได้ชัดบริเวณใต้ข้อ ลำแก่มีสีเขียวเข้ม แตกกิ่งจากประมาณกึ่งกลางลำขึ้นไป แต่ละข้อมีกิ่งจำนวนมาก โดยกิ่งจะมีลักษณะเรียวเล็กและมีขนาดไล่เลี่ยกัน
ไผ่ข้าวหลาม
ชื่อวิทยาศาสตร์  Cephalostachyum  pergracile
ชื่อวงศ์  Gramineae
ชื่อสามัญ   -
ชื่อทางการค้า   -
ชื่อพื้นเมือง  ไม้ข้าวหลาม (ทั่วไป) ไม้ป้าง (ภาคเหนือ) ขุยป้าง (เชียงใหม่) ว่าบลอ (กะเหรี่ยง) แม่พล้อง    (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี)
   เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นลักษณะตรง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 ซม. เนื้อลำบางหนาไม่ถึง 5 มม. ปล้องยาวประมาณ 20-45 ซม. สูงประมาณ 7-30 ซม. มีสีเขียวปนเทา กาบมีสีหมากสุก กาบหุ้มลำหลุดร่วงง่าย มีการแตกกิ่งขนาดเท่า ๆ กันรอบข้อ
ไผ่สีสุก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa blumeana  Schult.f.
วงศ์ : Gramineae
ชื่อสามัญ : Bamboo
ชื่ออื่น : ว่ามีบอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผ่สีสุกเป็นไม้ยืนต้นเป็นกอหนาแน่น มีลำสูงใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-25 ซม. เนื้อหนาประมาณ 7 ม.ม (บางกว่าไผ่ป่า) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 7-10 ซม. ปล้องยาวประมาณ 30 ซม. จำนวนปล้องประมาณ 50 ปล้อง บริเวณข้อมีกิ่งคล้ายหนาม กิ่งและแขนงมีหนามแหลมคม ลักษณะลำต้นกลวง ส่วนโคนจะมีความหนา 1.5 ซม. ลำต้นมีสีเขียวสด ผิวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อ (ซึ่งส่วนมาก ไผ่อายุราว 30 ปี จึงจะมีดอกสักหนหนึ่ง) หน่อมีขนาดใหญ่ มีกาบสีเหลืองห่อหุ้ม ขนที่หน่อเป็นสีน้ำตาลมีน้ำหนักประมาณ 2-5 ก.ก

ไผ่รวก
            ชื่อวิทยาศาสตร์     Thyrsostachys Siamensis Gamble
            ชื่อวงศ์  Gramineae
            ชื่อสามัญ   -
            ชื่อทางการค้า   -
            ชื่อพื้นเมือง  ตีโย ไผ่รวก ไม้รวก รวก (ภาคกลาง) ว่าบอบอ แวปั่ง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) แวบ้าง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) สะลอม (ชาน แม่ฮ่องสอน) ฮวก (ภาคเหนือ)
              ขึ้นเป็นกอแน่น ลำต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตัน ที่ปลายลำมีเนื้อบาง ถ้าพบในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ลำต้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-7 ซม. ถ้าพบในที่แห้งแล้งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ซม. ลำมีสีเขียวอมเทา ปล้องจะยาวประมาณ 15-30 ซม. โดยปกติเนื้อจะหนา กาบหุ้มลำยาวประมาณ 22-28 ซม. กว้างประมาณ 11-20 ซม. กาบมักจะติดต้นอยู่นาน สีเป็นสีฟาง ด้านหลังปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาว มีร่องเป็นแนวเล็ก ๆ สอบขึ้นไปหาปลาย ซึ่งเป็นรูปที่ตัดเป็นลูกคลื่น ครีบกาบมีรูปสามเหลี่ยม อาจจะเห็นไม่ชัดก็ได้ กระจังกาบมีเล็กน้อยและหยักไม่สม่ำเสมอ ใบยอดกาบยาวประมาณ 10-12 ซม. เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ยาวและแคบ ขอบงอโค้งเข้า